พื้นฐานการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ทางชีววิทยา

Basic of Biological Microscope Utilization

ความสำคัญ

การศึกษาสิ่งมีชีวิตในระดับเซลล์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการสังเกตรูปร่าง โครงสร้าง การจัดเรียงตัว ตลอดจนส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคในการเตรียมตัวอย่างสไลด์ และการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ โดยในการศึกษาระดับอุดมศึกษา จะใช้กล้องจุลทรรศน์สำหรับการเรียนในรายวิชาชีววิทยา จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยา ฯ ซึ่งรายวิชาต่าง ๆ นี้ เป็นพื้นฐานของการศึกษาในสายงานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์การอาหาร ฯ ซึ่งน้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้เรียนรู้ขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่าง การใช้งานกล้องจุลทรรศน์ รวมทั้งการถ่ายภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาต่อไปได้

รูปแบบกิจกรรม

Onsite (face-to-face)

ลักษณะห้องเรียน

ห้องเรียนแบบปฏิบัติการกลุ่ม

สื่อการเรียนรู้

- กล้องจุลทรรศน์
- ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต
- สีย้อม
- อุปกรณ์ปฏิบัติการ

การรับรองสำเร็จหลักสูตร

ผู้สำเร็จหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตร (Certificate of Achievement)

วิทยากร

พิภพ พลอาสา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นิติวิทยาศาสตร์)

วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา) เกียรตินิยมอันดับ 2

ประสบการณ์/ความสนใจ

- การตรวจสอบเเละจำเเนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์
- การเตรียมสารเคมี อาหารเลี้ยงเชื้อ
- การจัดการห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
- เทคนิคปฏิบัติการขั้นพื้นฐานของจุลชีววิทยา
- หลักการตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์
- การตรวจสอบพยาธิสภาพของศพ

ภาคภูมิ กำจัด

วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)

ประสบการณ์/ความสนใจ

Pharmaceutical Analysis
- Microbial Enumeration Testing
- Microbiological Assay
- Sterility Testing
- Endotoxin
- Method Validation & Verification

Quality Assurance
- การบริหารจัดการ ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
- การบริหารจัดการ การให้บริการทดสอบความชำนาญตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043
- Instruments Calibration & Verification
- Information Technology Management