พื้นฐานการศึกษาด้านจุลชีววิทยา

Introduction to Microbiology​

ความสำคัญ

จุลชีววิทยา เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือจุลินทรีย์ ซึ่งมีความสำคัญในหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์ไม่เพียงแค่มีบทบาทสำคัญในการแพทย์และการรักษาโรค แต่ยังมีความสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ จุลินทรีย์บางชนิดมีบทบาทในการผลิตอาหาร เช่น การหมักบ่มชีส โยเกิร์ต และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนบางชนิดมีบทบาทในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรที่ยั่งยืน หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ทำให้วิชาจุลชีววิทยาได้รับความสนใจอย่างมากคือ การแพร่ระบาดของ โคโรนาไวรัส (COVID-19) ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงความสำคัญของการศึกษาเชื้อจุลินทรีย์ในการป้องกันและควบคุมโรค ด้วยความรู้ด้านจุลชีววิทยา นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย การผลิตวัคซีน และการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้

รูปแบบกิจกรรม

Onsite (face-to-face)

ลักษณะห้องเรียน

ห้องเรียนแบบปฏิบัติการกลุ่ม

สื่อการเรียนรู้

- ห่วงเขี่ยเชื้อ
- เข็มเขี่ยเชื้อ
- อาหารเลี้ยงเชื้อ

การรับรองสำเร็จหลักสูตร

ผู้สำเร็จหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตร (Certificate of Achievement)

วิทยากร

พิภพ พลอาสา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นิติวิทยาศาสตร์)

วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา) เกียรตินิยมอันดับ 2

ประสบการณ์/ความสนใจ

- การตรวจสอบเเละจำเเนกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์
- การเตรียมสารเคมี อาหารเลี้ยงเชื้อ
- การจัดการห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
- เทคนิคปฏิบัติการขั้นพื้นฐานของจุลชีววิทยา
- หลักการตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์
- การตรวจสอบพยาธิสภาพของศพ

ภาคภูมิ กำจัด

วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)

ประสบการณ์/ความสนใจ

Pharmaceutical Analysis
- Microbial Enumeration Testing
- Microbiological Assay
- Sterility Testing
- Endotoxin
- Method Validation & Verification

Quality Assurance
- การบริหารจัดการ ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
- การบริหารจัดการ การให้บริการทดสอบความชำนาญตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043
- Instruments Calibration & Verification
- Information Technology Management